Recent News

Powered by eSnips.com

วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552

บาปต้น 7 ประการ

เราเชื่อเหลือเกินว่า "คนภายนอก" (บุคคลที่ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์) อาจไม่เข้าใจ สิ่งที่พวกเราถือปฏิบัติ นั่นคือ "การแก้บาป หรือสารภาพบาป"


ใครที่พอจะมีความรู้เบื้องต้นในศาสนาคริสต์มาบ้าง อาจเข้าใจ (ไปเอง) ว่า คริสตชน (บุคคลที่นับถือศาสนาคริสต์) เมื่อทำบาปแล้วก็สามารถแก้บาปได้ ดังนั้น ก็จะไม่ต้องตกนรก หรือ กรรมชั่ว ก็ไม่สามารถมาตามจองล้างจองผลาญ (ช่างเป็นกลุ่มคนที่มี "อภิสิทธิ์" เสียจริงๆ) ดังนั้น หลายคนก็อาจเข้าใจผิด (ไปเอง) และอยากจะมาเป็น "คาทอลิก" (โดยรู้เท่าไม่ถึงการ)


เราอยากจะให้อธิบายให้พวกคุณฟังเหลือเกินว่า "จริงๆแล้ว การแก้บาป หรือสารภาพ เป็นวิธี "การยอมรับ" ในสิ่งที่เราทำผิด และขอคืนดีกับพระเป็นเจ้า ด้วยความสมัครใจ และสัญญาว่า จะไม่กระทำบาปนั้นอีก"


บางคนอาจบอกว่า "คนชั่วแค่ไหน ก็สามารถได้รับการอภัยได้สิ"


เราขอตอบว่า "จริงๆแล้ว มีเพียงพระเจ้าเท่านั้น ที่จะตัดสินพระทัยว่า เราควรได้รับการอภัยจากบาปที่เราได้ทำพลาดผิดไปไหม?”


(ด้วยความเข้าใจของเรา) "การสารภาพบาป ก็คือการที่เรากล้าเปิดใจยอมรับว่า สิ่งที่เราได้ "เคย" กระทำไปนั้น (จะด้วยความตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม) เป็นสิ่งที่ "ผิด" และกล้าที่จะสารภาพ "ความผิด" นั้น ออกมา กับพระเจ้า


(แค่เพียง "การยอมรับ" ว่าตัวเองกระทำผิดนั้น ก็ยากแล้วในตัวมนุษย์แต่ละคน ลองตรองดูนะคะ คุณจะกล้าเดินไปบอกใครได้ไหมว่า ในแต่ละวัน แต่ละอาทิตย์ คุณเคยทำให้ใครเสียใจ ผิดหวัง หรือทำร้ายร่างกาย หรือจิตใจของใครแต่ละคนบ้าง)


การยอมรับ" อาจเป็นคำพูดที่ดูง่าย แต่การกระทำนั้นกลับเป็นเรื่องที่ยากมาก ในสังคมสมัยนี้ เพราะด้วยความที่ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (จนล้นโลก) หรือ ทรัพยากร ถูก "ล้างผลาญ" อย่างรวดเร็ว (จนขาดแคลน) หรือ ธรรมชาติ ถูกทำลายอย่างรวดเร็ว (จนโลกขาดสมดุล) หรือ มาตรฐานทางมโนธรรมความเป็นมนุษย์ ถูกแทนที่ด้วย Fashion (จนมนุษย์ขาดสำนึก) ก็คงไม่มีใครตอบได้


แต่ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ ชาวคาทอลิกอย่างพวกเรา ก็ยังคงถือปฏิบัติวิธีการแก้บาปอย่างต่อเนื่องต่อไป


เราอยากจะอธิบายถึงคำว่า "ศีลอภัยบาป" หมายถึง การที่คริสตชนปรารถนาที่จะรับศีลอภัยบาป (การคืนดีกับพระเป็นเจ้า) แต่ก่อนที่จะ "แก้บาป" ได้ เราต้องเป็นทุกข์ถึงบาป และตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตใหม่เสียก่อน และต้องแสดงออกมาด้วยการสารภาพบาปซึ่งกระทำกับพระสงฆ์ (ตามกฏพระศาสนจักร) ด้วยการชดเชยบาป



เราขออธิบาย บาปต้น 7 ประการ


บาปแรก "ราคะ (lust)" (ภาษาละติน: luxuria ลุกซุเรีย)

การคิดในทางเสื่อม ความต้องการเป็นที่สนใจจากผู้อื่น ความต้องการความเร้าใจ หมกมุ่นทางเพศที่มากจนเกินไป หรือที่ผิดมนุษย์ปกติ ความใคร่ที่เกิดขึ้นในทางทุจริต เช่น การมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์ กับพ่อแม่หรือลูกหลานตัวเอง การข่มขืน การมีชู้


บาปที่สอง "ตะกละ (gluttony)” (ภาษาละติน: gula กูลา)

การสนองความต้องการโดยไม่ยั้งคิด มุ่งร้ายเอาของคนอื่น บริโภคสิ่งต่างๆ จนขาดการการไตร่ตรอง บริโภคจนมากเกินไป มากจนเกินความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหาร รวมถึงการบริโภคสิ่ง ต่างๆ โดยไม่คำนึงสนใจ หรือเห็นใจคนอื่น ทำให้เวลาสรรเสริญพระเจ้าน้อยลง และยังเป็นบาปที่สามารถชักจูงให้ทำบาปอื่นๆ ได้ เช่น ปรารถนาในความหิว (ราคะ) ฆ่าเพราะความหิว (โทสะ) เป็นต้น


"การตะกละ" แบ่งแยกย่อยออกเป็น

Praepropere - กินเร็วเกินไป

Laute - กินแพงเกินไป

Nimis - กินมากเกินไป

Ardenter - กินอย่างกระตือรือร้นเกินไป

Studiose - กินอย่างประณีตเกินไป

Forente - กินอย่างแรงกล้าเกินไป


บาปที่สาม "โลภะ (greed/avarice) (ภาษาละติน: avaritia อวาริเทีย)

ความทะเยอทะยาน อันแรงกล้าในการให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน และอำนาจ โดยไม่คำนึงถึงแนวทาง หรือคุณธรรมในการได้มาซึ่งสิ่งเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการขโมย การขู่กรรโชกทรัพย์ ยักยอก การกักเก็บทรัพย์สินต่างๆ โดยไม่แบ่งปันหรือช่วยเหลือผู้อื่น ต่อมาโลภะรวมถึง การหาทรัพย์อย่างทุจริตมาใช้ เพื่อประโยชน์ทางศาสนาด้วย ถือเป็นการมุ่งร้ายต่อศาสนา และเป็นการหักหลังต่อผู้นับถือคริสต์ศาสนาอีกด้วย


บาปที่สี่ "เกียจคร้าน (sloth/laziness)” (ภาษาละติน: acedia อาซีเดีย)

ความไม่สนใจใยดี ต่อการเปลี่ยนแปลง ต่อสิ่งรอบข้าง ใช้เวลาอย่างไร้ค่า ความไม่ต้องการที่จะทำอะไร โดยปล่อยให้ผู้อื่น เป็นผู้ทำงานหนักเพื่อตนเองเท่านั้น การปล่อยปละละเลย ต่อหน้าที่ของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละเลยที่จะทำดี รวมถึงการละเลยที่จะเคารพต่อพระเจ้าด้วย ผู้ที่เกียจคร้านจะอยู่เฉยๆ รักษาสภาพ ความเป็นอยู่ของตนเองในภาวะเดิมตลอดเวลา ไม่ทำอะไรมาก แต่ก็ไม่ใช้อะไรมากเช่นกัน


บาปที่ห้า "โทสะ (wrath) (ภาษาละติน: ira ไอรา)

ความโกรธเคือง และพยาบาท ที่ขาดความเหมาะสม การทนรับสภาพในบางสิ่งบางอย่างไม่ได้ การแสวงหาหนทางผิดกฎหมายบ้านเมือง ในศีลธรรมในการล้างแค้น การมุ่งร้ายที่จะทำสิ่งต่างๆ แก่บุคคลที่ตนไม่ชอบ รวมถึงการไม่ชอบบุคคลอื่นโดยไร้เหตุผล เช่น สีผิว เชื้อชาติ ศาสนา นำไปสู่การฆ่าและฆาตกรรมผู้อื่น


บาปที่หก "ริษยา (envy) (ภาษาละติน: invidia อินวิเดีย)

ความปรารถนาให้ผู้อื่นรับเคราะห์ การไม่ยอมรับผู้อื่นที่มีสิ่งต่างๆ ดีกว่าตนเอง ทั้งด้านทรัพย์สมบัติ ลักษณะรูปร่าง นิสัย และ การประสบความสำเร็จ ความอิจฉา นำไปสู่การรังเกียจตัวเอง ต้องการอยากเป็นผู้อื่น นำไปสู่การขโมยและทำลายผู้อื่น ความอิจฉาริษยา เป็นการพัฒนาต่อจากตะกละและโลภะที่สุดขั้ว


บาปที่เจ็ด "อัตตา (vanity/pride) (ภาษาละติน: superbia ซูเปอร์เบีย)

อัตตา เป็นยอดแห่งบาปทั้งปวง หมายถึงความต้องการเป็นผู้ที่มีความสำคัญ และอำนาจเหนือผู้อื่น (เช่นต้องการเป็นพระราชา) การที่รักตนเองมากจนเกินไป หลงในอำนาจและรูปลักษณ์ของตัวเอง


นี่คือคำอธิบายอย่างคร่าวๆ สำหรับ บาปต้นเจ็ดประการ


พรุ่งนี้เราจะมาเขียนเรื่อง "การแก้บาป หรือสารภาพบาป"


ขอบคุณนะคะที่ติดตามอ่าน