เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เรามีโอกาสได้ไปเข้าร่วม “งานมหกรรมดนตรีศักดิ์สิทธิ์” ณ บ้านเณรใหญ่ แสงธรรม (อาจฟังดูชื่อ “ยิ่งใหญ่”) แต่ก็จริงๆ เพราะงานนี้ยิ่งใหญ่ และมีความสำคัญมากๆ ในเชิง “การแพร่ธรรม” เพราะหน้าที่ “การรับใช้พระเจ้า” ของคาทอลิกแต่ละคนนั้น ก็แตกต่างกันออกไป บ้างก็ถูกเรียกให้ไปเป็นพระสงฆ์ (นักบวชชาย) บ้างเป็นซิสเตอร์ หรือมาเซอร์ (นักบวชหญิง) บ้างเป็นบราเดอร์ (นักบวชที่ทำงานกับฆราวาส) บ้างเป็นสมาชิกสภาภิบาลในแตละวัด (ฆราวาสที่ทำงานเพื่อพระศาสนจักร) บ้างเป็นผู้อ่านพระคัมภีร์ (อ่านพระคัมภีร์ในพิธีมิสซา) บ้างเป็นผู้ช่วยพิธีกรรม (ช่วยพิธีในมิสซา) บ้างเป็นนักขับร้องประสานเสียง (ร้องเพลงในพิธีมิสซา) บ้างเป็นคนจัดดอกไม้ในโบสถ์ บ้างเป็นพิธีกร หรือผู้ก่อสวด บ้างเป็นพลมารี (ทหารของแม่พระ) บ้างเป็นพลศีล บ้างเป็นสมาชิกองค์กรใด องค์กรหนึ่ง ที่ช่วยเหลืองานอภิบาลในแต่ละสาขาของพระศาสนจักร แต่ไม่ว่าแต่ละคน จะได้รับพระพรในด้านไหน จะมีหน้าที่อะไร เหมาะสมกับการงานแบบไหน หรือพระเป็นเจ้าทรงเลือกสรรงานใดๆ ให้ทำนั้น งานเหล่านั้นก็ “ยิ่งใหญ่ และมีความหมายที่สุดในชีวิตของเรา” (หลายๆคน อ่านมาถึงตรงนี้อาจจะเกิดอาการ “งง” เล็กน้อย ดังนั้นอ่านเพื่อความรู้รอบตัวแล้วกันนะคะ)
สำหรับเรา หน้าที่แรก ที่พระเจ้าทรงเรียกให้เราทำก็คือ “ผู้อ่านพระคัมพีร์” พระเจ้าทรงประทานสติปัญญาเพื่อให้เรามีความเข้าใจในพระคัมภีร์ รวมถึงพระองค์เปิดโอกาสให้เรารับใช้พระองค์ในด้านนี้ เพื่อเราจะได้เป็น “ตัวกลาง” ในการ “สื่อสาร” กับพี่น้องคาทอลิกได้อย่างดี มานานกว่า สิบปี แล้ว หน้าที่อีกอย่างที่พระองค์ดลใจ และประทานพระหรรษทานเป็นพิเศษ ในการใช้เสียง (พระพรที่พระองค์ประทานมา) เพื่อร้องสรรเสริญพระองค์ อย่างสง่า ด้วยสิ้นสุดดวงใจ และสุดวิญญาณ ในพิธีมิสซา และหน้าที่นี้แหละ ที่นำเรามางานมหกรรมดนตรีศักดิ์สิทธิ์ เพื่อ “พัฒนาความสามารถ และเก็บเกี่ยวความรู้ด้านการขับร้องในพิธีกรรม”
กิจกรรมเริ่มเวลา 9.00 นอกจากการอบรมที่มีตลอดวันแล้ว ยังมีการแสดงขององค์กรต่างๆ คั่นเวลาเพื่อไม่ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเบื่ออีกต่างหาก มีถึง 4 การแสดงด้วยกันนั่นคือ
การแสดงแรก คือร้องเพลงของเด็กๆ เยาวชน จากวัดนักบุญอันตน เป็นการแสดงร้องเพลงประสานเสียงของเด็กช่วงวัยระหว่าง 8-12 ปี
(เป็นการแสดงแรกที่ประทับใจอย่างมาก สะท้อนให้เราเห็นความสนุกสนาน ความตั้งใจจริง ของเด็กเหล่านั้น ในการร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า ด้วยความเข้าใจแบบเด็กๆ)
การแสดงที่สอง เป็นการแสดงของผู้พิการทางการได้ยิน (คนหูหนวก) พวกเขาออกมาแสดงการขับร้องประสานเสียงในเพลง “ข้าแต่พระบิดา” (หลายๆคนอาจจะแปลกใจ เขาจะเปล่งเสียงออกมาได้อย่างไร?) เขาร้องเพลงนี้ ด้วย “การใช้ภาษามือ” ในการเปล่งเสียง เรานั่งนิ่งเลย เพราะความสวยงาม พร้อมเพรียง ในการร้องนั้น ออกมาจากหัวใจ เสียงร้องเหล่านี้ไม่ได้ “กึกก้อง” ด้วยเสียงที่เปล่งออกมา แต่ “ดังก้องกังวาน” ในหัวใจของเรา ด้วยจิตวิญญาณแห่งการรับใช้อย่างแท้จริง
การแสดงนี้ “กระตุก” ต่อมความคิดของเรามาก ทำให้เราได้ตอบโจทย์ความสับสน ความท้อแท้ในหัวใจ เพราะจริงๆแล้ว ในการร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้านั้น ไม่ได้อ้างอิงถึง ความไพเราะของเสียงร้อง หรือความงดงามของท่วงทำนอง แต่เสียงที่เปล่งออกมานั้น ต้อง “กลั่น” ออกมาจาก “หัวใจที่เต็มเปี่ยม” ซึ่งมีเพียงคุณและพระเจ้าเท่านั้นที่สื่อสารกันได้
“ขอบคุณพระเจ้า สำหรับธรรมชาติ สิ่งสร้างทั้งหลาย ที่อยู่รอบตัวเรา ไม่ว่าสิ่งนั้น จะดูสมบูรณ์ หรือพิการ แค่ไหน? (ในสายตามนุษย์) แต่นั่นคือ พระพร และใน “พระพร” พระองค์ก็ประทับอยู่เสมอ”
การแสดงต่อไป เป็นการแสดงที่ได้รางวัลชนะเลิศจากการขับร้องประสานเสียงระดับชาติ นั่นคือการแสดงจาก “วงเยรูซาเล็ม” เป็นวงที่มีบราเดอร์ (นักบวชชายที่เตรียมตัวจะบวชเป็นพระสงฆ์) ร้อง 4 เสียง เป็นการขับร้องที่ชวนให้เราขนลุกยิ่งนัก
เราได้อีกความรู้สึกนึง เมื่อได้นั่งฟังทั้ง 4 คน ร่วมกันร้องเพลง เพลงที่กลั่นออกมาจากหัวใจ ร้องด้วยหัวใจ และต้องฟังผ่านหัวใจเท่านั้น
และการแสดงปิดงาน เป็นการแสดงจาก นายแพทย์ คนนึง ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่อง Organ อย่างมาก ท่านได้กรุณามาเล่น Organ ให้เราฟังถึง 4 เพลง แต่ละเพลงนั้น ทำให้เราขนลุก และสื่อได้ถึงท่วงทำนองแห่งสวรรค์ (ท่วงทำนองที่คงไม่มีเสียง หากไม่มีการเข้าถึงผู้ฟัง)
เมื่อโชว์ต่างๆจบลง สะท้อนให้เรา (ผู้เข้าร่วมกิจกรรม) ได้เข้าถึง “จิตวิญญาณ” ของการร้องเพลง นั่นคือ (ตามความคิดของเรา)
ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร?
ไม่ว่าคุณจะทำอะไร?
ไม่ว่าคุณจะมีอะไร?
ไม่ว่าคุณจะต้องการอะไร?
หากคุณใส่ “หัวใจ และความตั้งใจ” ลงไปในกิจกรรมที่คุณทำ “เสน่ห์ และความสำเร็จ” นั้น ก็จะ “สะท้อน” ให้เห็นได้ไม่ยาก
จริงๆแล้ว ต้องยอมรับตามตรงว่า “เรากำลังมีความคิดที่จะออกจากวงนักร้องประสานเสียง อาจเพราะว่า เราคิดว่า เราไม่เหมาะสม เราร้องเพลงได้ไม่ดีเท่าที่ควร แม้ว่าเราจะพยายามแล้วก็ตาม แต่ ณ ตอนนี้ เราได้ตัดสินใจแล้ว ว่าเราจะขับร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้าด้วยสุดความสามารถ ไม่ว่าผลที่ออกมาจะเพี้ยน หรือแย่แค่ไหน เราก็จะยังคงเปล่งเสียงร้องสรรเสริญพระองค์ ด้วยความตั้งใจ เพราะคงมีเพียงเรา และพระองค์เท่านั้น ที่รู้ว่า “เสียงที่เปล่งออกมานั้น มาจากหัวใจของเราจริงๆ” (ขอบคุณผู้พิการทางการได้ยิน การร้องเพลงด้วยภาษามือของพวกคุณ ทำให้เราคิดได้)
ขอบคุณวิทยากร ที่ชื่นชมว่า “โบสถ์ที่ร้องเพลงประสานเสียง เพราะที่สุดในประเทศไทย คือโบสถ์ของเรา” (ปรบมือในใจ)
“เรามีเวลาทำกิจกรรม และสร้างสรรค์ผลงานต่างๆในโลกมากมาย แต่เรามีเวลาสำหรับพระเจ้าน้อยเหลือเกิน”
Give thanks with a great full heart,
give thanks to the Holy one,
give thanks because he’s given Jesus Christ his son
สำหรับเรา หน้าที่แรก ที่พระเจ้าทรงเรียกให้เราทำก็คือ “ผู้อ่านพระคัมพีร์” พระเจ้าทรงประทานสติปัญญาเพื่อให้เรามีความเข้าใจในพระคัมภีร์ รวมถึงพระองค์เปิดโอกาสให้เรารับใช้พระองค์ในด้านนี้ เพื่อเราจะได้เป็น “ตัวกลาง” ในการ “สื่อสาร” กับพี่น้องคาทอลิกได้อย่างดี มานานกว่า สิบปี แล้ว หน้าที่อีกอย่างที่พระองค์ดลใจ และประทานพระหรรษทานเป็นพิเศษ ในการใช้เสียง (พระพรที่พระองค์ประทานมา) เพื่อร้องสรรเสริญพระองค์ อย่างสง่า ด้วยสิ้นสุดดวงใจ และสุดวิญญาณ ในพิธีมิสซา และหน้าที่นี้แหละ ที่นำเรามางานมหกรรมดนตรีศักดิ์สิทธิ์ เพื่อ “พัฒนาความสามารถ และเก็บเกี่ยวความรู้ด้านการขับร้องในพิธีกรรม”
กิจกรรมเริ่มเวลา 9.00 นอกจากการอบรมที่มีตลอดวันแล้ว ยังมีการแสดงขององค์กรต่างๆ คั่นเวลาเพื่อไม่ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเบื่ออีกต่างหาก มีถึง 4 การแสดงด้วยกันนั่นคือ
การแสดงแรก คือร้องเพลงของเด็กๆ เยาวชน จากวัดนักบุญอันตน เป็นการแสดงร้องเพลงประสานเสียงของเด็กช่วงวัยระหว่าง 8-12 ปี
(เป็นการแสดงแรกที่ประทับใจอย่างมาก สะท้อนให้เราเห็นความสนุกสนาน ความตั้งใจจริง ของเด็กเหล่านั้น ในการร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า ด้วยความเข้าใจแบบเด็กๆ)
การแสดงที่สอง เป็นการแสดงของผู้พิการทางการได้ยิน (คนหูหนวก) พวกเขาออกมาแสดงการขับร้องประสานเสียงในเพลง “ข้าแต่พระบิดา” (หลายๆคนอาจจะแปลกใจ เขาจะเปล่งเสียงออกมาได้อย่างไร?) เขาร้องเพลงนี้ ด้วย “การใช้ภาษามือ” ในการเปล่งเสียง เรานั่งนิ่งเลย เพราะความสวยงาม พร้อมเพรียง ในการร้องนั้น ออกมาจากหัวใจ เสียงร้องเหล่านี้ไม่ได้ “กึกก้อง” ด้วยเสียงที่เปล่งออกมา แต่ “ดังก้องกังวาน” ในหัวใจของเรา ด้วยจิตวิญญาณแห่งการรับใช้อย่างแท้จริง
การแสดงนี้ “กระตุก” ต่อมความคิดของเรามาก ทำให้เราได้ตอบโจทย์ความสับสน ความท้อแท้ในหัวใจ เพราะจริงๆแล้ว ในการร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้านั้น ไม่ได้อ้างอิงถึง ความไพเราะของเสียงร้อง หรือความงดงามของท่วงทำนอง แต่เสียงที่เปล่งออกมานั้น ต้อง “กลั่น” ออกมาจาก “หัวใจที่เต็มเปี่ยม” ซึ่งมีเพียงคุณและพระเจ้าเท่านั้นที่สื่อสารกันได้
“ขอบคุณพระเจ้า สำหรับธรรมชาติ สิ่งสร้างทั้งหลาย ที่อยู่รอบตัวเรา ไม่ว่าสิ่งนั้น จะดูสมบูรณ์ หรือพิการ แค่ไหน? (ในสายตามนุษย์) แต่นั่นคือ พระพร และใน “พระพร” พระองค์ก็ประทับอยู่เสมอ”
การแสดงต่อไป เป็นการแสดงที่ได้รางวัลชนะเลิศจากการขับร้องประสานเสียงระดับชาติ นั่นคือการแสดงจาก “วงเยรูซาเล็ม” เป็นวงที่มีบราเดอร์ (นักบวชชายที่เตรียมตัวจะบวชเป็นพระสงฆ์) ร้อง 4 เสียง เป็นการขับร้องที่ชวนให้เราขนลุกยิ่งนัก
เราได้อีกความรู้สึกนึง เมื่อได้นั่งฟังทั้ง 4 คน ร่วมกันร้องเพลง เพลงที่กลั่นออกมาจากหัวใจ ร้องด้วยหัวใจ และต้องฟังผ่านหัวใจเท่านั้น
และการแสดงปิดงาน เป็นการแสดงจาก นายแพทย์ คนนึง ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่อง Organ อย่างมาก ท่านได้กรุณามาเล่น Organ ให้เราฟังถึง 4 เพลง แต่ละเพลงนั้น ทำให้เราขนลุก และสื่อได้ถึงท่วงทำนองแห่งสวรรค์ (ท่วงทำนองที่คงไม่มีเสียง หากไม่มีการเข้าถึงผู้ฟัง)
เมื่อโชว์ต่างๆจบลง สะท้อนให้เรา (ผู้เข้าร่วมกิจกรรม) ได้เข้าถึง “จิตวิญญาณ” ของการร้องเพลง นั่นคือ (ตามความคิดของเรา)
ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร?
ไม่ว่าคุณจะทำอะไร?
ไม่ว่าคุณจะมีอะไร?
ไม่ว่าคุณจะต้องการอะไร?
หากคุณใส่ “หัวใจ และความตั้งใจ” ลงไปในกิจกรรมที่คุณทำ “เสน่ห์ และความสำเร็จ” นั้น ก็จะ “สะท้อน” ให้เห็นได้ไม่ยาก
จริงๆแล้ว ต้องยอมรับตามตรงว่า “เรากำลังมีความคิดที่จะออกจากวงนักร้องประสานเสียง อาจเพราะว่า เราคิดว่า เราไม่เหมาะสม เราร้องเพลงได้ไม่ดีเท่าที่ควร แม้ว่าเราจะพยายามแล้วก็ตาม แต่ ณ ตอนนี้ เราได้ตัดสินใจแล้ว ว่าเราจะขับร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้าด้วยสุดความสามารถ ไม่ว่าผลที่ออกมาจะเพี้ยน หรือแย่แค่ไหน เราก็จะยังคงเปล่งเสียงร้องสรรเสริญพระองค์ ด้วยความตั้งใจ เพราะคงมีเพียงเรา และพระองค์เท่านั้น ที่รู้ว่า “เสียงที่เปล่งออกมานั้น มาจากหัวใจของเราจริงๆ” (ขอบคุณผู้พิการทางการได้ยิน การร้องเพลงด้วยภาษามือของพวกคุณ ทำให้เราคิดได้)
ขอบคุณวิทยากร ที่ชื่นชมว่า “โบสถ์ที่ร้องเพลงประสานเสียง เพราะที่สุดในประเทศไทย คือโบสถ์ของเรา” (ปรบมือในใจ)
“เรามีเวลาทำกิจกรรม และสร้างสรรค์ผลงานต่างๆในโลกมากมาย แต่เรามีเวลาสำหรับพระเจ้าน้อยเหลือเกิน”
Give thanks with a great full heart,
give thanks to the Holy one,
give thanks because he’s given Jesus Christ his son
(และบทเพลงนี้ เราก็ร้องด้วยหัวใจเรา เพื่อพระองค์จริงๆ)
Thanks God, for every beautiful things in this world.
Thanks God, for the life.
And Thanks God, I found you.
(เพื่อนๆคนไหนที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ ในศัพท์ หรือเรื่องราว ขอให้คิดว่า อ่านเพื่อความบันเทิงเท่านั้นนะคะ)
ขอบคุณนะคะที่ติดตามอ่าน
Thanks God, for every beautiful things in this world.
Thanks God, for the life.
And Thanks God, I found you.
(เพื่อนๆคนไหนที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ ในศัพท์ หรือเรื่องราว ขอให้คิดว่า อ่านเพื่อความบันเทิงเท่านั้นนะคะ)
ขอบคุณนะคะที่ติดตามอ่าน